การจัดการองค์การรู้ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองปอน

การส่งเสริมการจัดการความรู้(Knowledge Management)

การพัฒนาส่วนราชการให้เป็น"องค์การแห่งการเรียน"โดยอาศัยกระบวนการ"การจัดการความรู้"ในยุคที่มีการแข่งขันและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่วนราชการต้องสร้างให้ราชการในส่วนราชการมีความรู้เข้มแข็งและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบเพื่อส่วนราชการให้บรรลุผลตามยุทธศาสตร์30โดยในขั้นตอนของการแปลงแผนการปฏิบัติราชการสู่การปฏิบัติจริงนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบประการที่ช่วยผลักดันสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ดังนี้

1.การปรับโครงสร้างองค์การพื้นฐานเพื่อรองรับบุคลากรให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้กันได้สะดวก เช่น สถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่า

2.การปรับขั้นตอนการทำงานให้รวดเร็ว และกระชับมากขึ้น เพื่อเอื้อยต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดข้นได้อย่างรวดเร็ว และสะดวก

3.การพัฒนาคนให้มีขีดความสามารถ มีระบบการยกย่องชมเชยและการให้รางวัลที่เอื้อยต่อการจัดการความรู้และมีวัฒนธรรมการทำและวัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยน และแบ่งปันความรู้ระหว่างบุคลากรในองค์การ

4.ปรับกฎระเบียบ และกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การจัดการความรู้ในองค์การ ต้องดำเนินการ 3 ระดับ คือ ๑.การจัดการความรู้ในองค์การ ๒.การจัดการความรู้ในกลุ่มเพื่อเพื่อนร่วมงานจัดการความรู้ในด้านบุคคลซึ่งเป็นการนำข้อมูลมาประมวลเข้าสู่ระบบสารสนเทศและเป็นการจัดการความรู้สมัยใหม่ในยุคของสังคมแห่งการเรียนรู้

ดังที่ พระราชกฤษฏีการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖มาตรา๑๑กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่.ความรู้ในองค์กร เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลความรู้ในด้านต่างๆมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถและปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและเรียนรู้ร่วมกัน

การจัดการความรู้(Knowledge Management): KM

ความหมายของ”การจัดการความรู้” (Knowledge Management): KM การจัดการความรู้หรื KM ที่ย่อมาจาก” Knowledge Management”คือการรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ้งอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์กรเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ นำความรู้ที่ได้ใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิ์ภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด (อ้างอิงจาก สำนักงาน ก.พ.ร.) การจัดการความรู้ คือ กระบวนการบริหารจัดการความรู้อย่างเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่ขบวนการในการระบุความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรเก็บรวบรวมความรู้จากบุคลากร การจัดหมวดหมู่ความรู้ การเผยแพร่องค์ความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมเรียนรู้ จนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้และต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายประสงค์ขององค์การ (ฐิติกร พูลภัทร)

KM ไม่ใช่เป้าหมายแต่เป็นเครื่องมือ ที่จะช่วยให้มีการสร้าง รวบรวม จัดระบบ เผยแพร่ ถ่ายโอนความรู้ที่เป็นประโยชน์เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ทันเวลา และทันเหตุการณ์ จะส่งผลให้ปฏิบัติงานของคนในองค์กรมีคุณภาพ และมีประสิทธิ์ภาพเพิ่มมากขึ้นซึ่งองค์การบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร และเป็นองค์กรแห่งความรู้ (Learning Organization)

แผนที่ 1 แผนการจัดการความรู้(KM Action Plan): กระบววนการบริหารความเสี่ยงในองค์กร

1รู้แล้วบอกต่อบอกต่อเท่าที่รู้

2.9วิธีสร้างแรงจูงใจในการทำงานที่ได้ผลมากกว่า”เงิน”

แผนที่ 2 แผนการจัดการความรู้(KM Action Plan):เทิคนิคการบริหารจัดการองค์ความรู้

1.หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

แผนที่3 แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan):เทิคนิคการนำเสนอสารสนเทศผ่านเว็บไซต์

1.ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์

 

องค์ความรู้(KM)ที่เกี่ยวข้อง

1.แผนพัฒนาบุคลากร(พ.ศ.2558 - 2560)

2.แผนพัฒนากำลัง 3 ปี (ปี 58-ปี60)

3.แผนพัฒนาตำบลสามปี (ปี 58-ปี60)

องค์ความรู้ภายในองค์กร ความรู้ภายนอกองค์กร

1.ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ.2547

 

2.ว่าด้วยหลกเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546

 

3.พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.ฉบับที่ 2 พ.ศ.2542

 

4.พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล(ฉบับที่6) พ.ศ.2552

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page

เกี่ยวกับหน่วยงาน

Facebook Fan Page